top of page

นายช่างชวนรู้!! : ฐานรากตอนที่2 (ฐานรากเสาเข็มสั้น)

ฐานรากเสาเข็ม ต่อจากตอนที่แล้วนะครับ!!!

© สงวนลิขสิทธิ์

ฐานรากเสาเข็มคือฐานรากที่ถ่ายน้ำหนักที่รวบรวมมาจนถึงตอม่อลงบนเสาเข็ม

โดยฐานรากเสาเข็มจะแบ่งประเภทตามความลึกของเสาเข็มได้ 2 ประเภท

1.ฐานรากเสาเข็มสั้น คือระบบที่ใช้เสาเข็มสั้น ถ้าความยาวเสาเข็มทั้งหมดอยู่ในชั้นดินอ่อนจะรับน้ำหนักได้น้อยเนื่องจาก อาศัยเฉพาะแรงเสียดทานระหว่างเสาเข็มกับชั้นดิน(Friction) เหมาะสำหรับใช้กับการต่อเติมบ้าน เช่นโรงรถ ครัว ที่มาทำทีหลัง

โดยถ้าไม่ได้ทำการทดสอบคุณสมบัติของดิน ให้ใช้ค่าความเสียดทานดังนี้
-ระดับความลึกไม่เกิน 7 m ใช้ 600 กิโลกรัมต่อตร.ม.
-ระดับความลึกเกิน 7 เมตรใช้ 800+200(L) L=ระดับความลึกมากกว่า 7 เมตร เช่นที่ 20เมตรใช้ 20-7=13
จะได้แรงเสียดทานช่วงเมตรที่ 19-20 มีค่า 800+(200x13)= 3400 กิโลกรัมต่อตร.ม.

***โซนกรุงเทพฯ ปริมณฑลที่มีแต่ชั้นดินอ่อน จะไม่มีแรงต้านทานแบบรับน้ำหนักที่ปลายเสาเข็ม(Bearing) จะมีแค่แรงเสียดทานตามข้างต้น แต่ถ้าตจว.บางที่จะเจอชั้นดินแข็งที่ความลึกแค่ไม่กี่เมตรก็จะมีค่ามากกว่าเยอะ เนื่องจากมีแรงต้านทานแบบรับน้ำหนักที่ปลายเสาเข็ม เนื่องจากปลายเสาเข็มวางบนชั้นดินแข็งด้วย***

แรงเสียดทาน.jpg

ลองคำนวณ!! เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน 15 * 15 ลึก3 เมตรจะรับน้ำหนักได้เท่าไหร่ 
เสาเข็มมีพื้นที่ผิว (0.15x4)x3.0= 1.8 ตร.ม.
ความลึกไม่เกิน 7 ม. ใช้ 600 กิโลกรัมต่อตร.ม.
ดังนั้นเสาเข็มรับน้ำหนักได้ 1.8x600=1,080 กิโลกรัมต่อต้น

***แค่นี้ก็พอจะรู้ ว่าเสาเข็มที่เอามาต่อเติมรับน้ำหนักได้หรือไม่ ไม่ต้องกลัวผู้รับเหมาจะใช้เสาเข็มไม่พอรับน้ำหนัก ในอนาคตจะได้ไม่ทรุดนะครับ***

2.ฐานรากเสาเข็มยาว คือระบบเสาเข็มที่ใช้เสาเข็มยาวปลายของเสาเข็มจะไปอยู่ที่ชั้นดินแข็งจึงทำให้รับน้ำหนักได้มากกว่าเพราะมีทั้งแรงเสียดทานระหว่างเสาเข็มกับชั้นดิน และแรงต้านทานแบบรับน้ำหนักที่ปลายเสาเข็ม(Bearing) จึงทำให้รับน้ำหนักได้มากกว่าเสาเข็มตื้น เหมาะสำหรับใช้ในการก่อสร้างบ้านและอาคารสร้างใหม่ โดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดได้ 2 ชนิด
                  -เสาเข็มตอก
                  -เสาเข็มเจาะ

            -เสาเข็มตอกคือเสาเข็มที่ผลิตมาจากคอนกรีตอัดแรง เข็มประเภทนี้จะมีราคาถูกกว่าเสาเข็มเจาะ ทำงานได้รวดเร็วกว่า และมีหลายหน้าตัดให้เลือก เช่นสี่เหลี่ยมตัน หกเหลี่ยม กลม หรือตัวไอ โดยเข็มตัวไอจะใช้กับบริเวณที่ชั้นดินไม่แข็งมาก ถ้าแข็งมากต้องใช้สี่เหลี่ยมตันมิฉะนั้นเสาเข็มจะหักเสียหายตอนตอก

            เสาเข็มตอกมีข้อจำกัดคือ พื้นที่ก่อสร้างต้องสามารถขนส่งเสาเข็มเข้าไปได้ และใช้พื้นที่ทำงานกว้างในการตอก เพราะในระหว่างตอกต้องระวังความเสียหายจากการสั่นสะเทือนกับอาคารข้างเคียง โดยทั่วไปควรห่างไม่น้อยกว่า 6 เมตร และโครงสร้างอาคารใกล้เคียงถ้าเป็นไม้จะได้รับผลกระทบน้อยกว่าโครงสร้าง คสล.

IMG_20160221_162553.JPG

            -เสาเข็มเจาะ คือเสาเข็มที่ทำการเจาะผิวดินลงไปและทำการหล่อเสาเข็มคสล.ภายในหลุมเจาะ มีราคาแพงกว่าเสาเข็มตอก ใช้เวลาในการทำงานช้ากว่าเสาเข็มตอก แต่สามารถทำงานในพื้นที่แคบๆได้และไม่มีผลกระทบจากการสั่นสะเทือนกับพื้นที่ข้างเคียง

IMG_20180418_095133.JPG

ไว้ตอนต่อไปจะมาคุยเจาะลึกเรื่องเสาเข็มตอกนะครับ

ความยาวเสาเข็มที่เลือกใช้ดูได้จากอะไร???

ต้องดูยังไงว่าเสาเข็มตอกรับน้ำหนักได้แล้ว ???

ต้องดูยังไงว่าเสาเข็มตอกมีกระบวนการทำงานที่ดี???

ตอกเสาเข็มไปแล้ว ผลการตอกเสาเข็มดีหรือไม่ดีจะดูยังไง???

****อยากรู้กด like ติดตาม Facebook ได้ที่ด้านล่างจะได้ไม่พลาดนะครับ!!****

****อยากได้แบบบ้านที่ออกแบบฐานรากตามหลักวิศกวรรม รับประกันไม่ทรุด ลองคลี๊กเพิ่มเติมด้านล่างได้เลย****

**ใช้บริการออกแบบกับเรา รับคำปรึกษาในทุกขั้นตอนก่อสร้างเพื่อควบคุมคุณภาพ ฟรี**
**ใช้บริการจ้างสร้างฯกับเราค่าออกแบบ ฟรี**
**สนใจเข้าไปดูรายการวัสดุที่เราใช้เป็นมาตรฐานในการออกแบบและก่อสร้างได้เลย**

นายช่าง SSKC1981 Design&Construction
www.sskcbuilder.com

#แบบบ้าน #แบบบ้านสวย #แบบบ้านสำเร็จรูป #ออกแบบ #รับสร้างบ้าน #รับสร้างบ้านพิษณุโลก

bottom of page