top of page

นายช่างชวนรู้!! : ฐานรากตอนที่3(ฐานรากเสาเข็มตอก)

© สงวนลิขสิทธิ์

ฐานรากเสาเข็มตอก ต่อจากตอนที่แล้วนะครับ!!!

อ่านแล้วเอาไปใช้...รับรองว่ามือวินปั้นจั่นจะถึ่งกะคุณเจ้าของบ้านเลยทีเดียวเชียว!!

ฐานรากเสาเข็มคือฐานรากที่ถ่ายน้ำหนักที่รวบรวมมาจนถึงตอม่อลงบนเสาเข็ม

     ดังนั้นพอรู้น้ำหนักที่รวบรวมจากตอม่อมาถึงเสาเข็ม เราก็สามารถเอาน้ำหนักที่เสาเข็มแต่ละต้นต้องแบกรับไว้ทำการเลือกใช้ขนาดหน้าตัดเสาเข็มได้

     โดยดูให้เหมาะกับน้ำหนักที่ต้องแบกรับ โดยการเลือกจะดูจากน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยที่หน้าตัดเสาเข็มขนาดต่างๆสามารถรับได้ตามตารางครับ....แค่นี้ก็ได้ขนาดหน้าตัดเสาเข็มที่ควรใช้แล้วครับ!!

กำลังรับน้ำหนักเสาเข็ม.jpg

สำหรับความยาวของเข็มที่จะใช้ สามารถพิจารณาจากข้อมูลดินในบริเวณพื้นที่ก่อสร้างว่ามีลักษณะอย่างไร??
โดยสามารถรู้ได้จาก
            -บริษัทเสาเข็มภายในพื้นที่ ก็จะรู้คร่าวๆแต่ไม่มีค่าใช้จ่าย
            -หรือทำการตรวจสอบโดยการทำ Boring test (การเจาะชั้นดินเพื่อเก็บข้อมูลที่ระดับความลึกต่างๆ )ทำให้เราได้ข้อมูลอย่าง  ละเอียดของชั้นดินมาพิจารณา จะรู้ละเอียดกว่าแต่มีค่าใช้จ่าย

พอรู้ขนาดหน้าตัดและความยาวเสาเข็ม ก็สามารถนำมาคำนวณจำนวน Last 10 blows และ Blows/foot ของเสาเข็มเพื่อเช็คกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มเมื่อตอกจริงได้แล้ว โดยจะมีระยะยกตุ้มและน้ำหนักตุ้มมี่ใช้บอกไว้ 

           - Last 10 blows คือตอกเสาเข็มไป 10 ครั้งเข็มจมกี่เซนติเมตร ถึงจะรับน้ำหนักได้ตามที่กำหนด?? อันนี้ตัวเลขยิ่งน้อยกว่ายิ่ง  ดีเสาเข็มจะรับน้ำหนักได้มากกว่าที่กำหนด
           - Blows/foot คือตอกเสาเข็มจมลงไป 30 เซนติเมตรใช้การต่อกี่ครั้ง ถึงจะรับน้ำหนักได้ตามที่กำหนด?? อันนี้ตัวเลขยิ่ง          มากกว่ายิ่งดีเสาเข็มจะรับน้ำหนักได้มากกว่าที่กำหนด

           **ลองดูจากตัวอย่างรายการคำนวณด้านล่างได้เลยครับ**

IMG_20200110_095345.jpg

***สำหรับรายการคำนวณข้างต้นสามารถขอดูได้จากบริษัทตอกเสาเข็มได้เลย เพื่อจะได้เช็คกำลังรับน้ำหนักเสาเข็มได้ครับ ว่ารับน้ำหนักได้แค่ไหน พอไหม บ้านจะทรุดไหม***

ต่อไปคือขั้นตอนในการทำงานตอกเสาเข็ม!!
สำหรับบริษัทรับตอกเสาเข็มที่ดีควรจะมีอะไรบ้าง สังเกตได้จากส่วนไหนบ้าง มาลองดูกันครับ

1.สังเกตจากเสาเข็มที่นำมาส่งก่อน แข็งแรงดีไหมมีรอยแตก crack เสาเข็มหักจากการขนส่งไหม?? ความยาว ขนาดหน้าตัดตรงตามรายการไหม?? 

**ที่สำคัญมาก เข็มแต่ละต้นจะเขียนวันที่หล่อเสาเข็มไว้ เช็คดูต้องหล่อทิ้งไว้เกิน 7วัน สำหรับเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงนะครับ**

เสาเข็มตอก1.jpg

2.เวลาจะตอกเสาเข็ม ปั้นจั่นจะทำการมาร์คจุดที่จะตอก  และจะทำการวัด offset ออกมา เมื่อนำเสาเข็มปักลงไปในจุดที่จะตอก เสาเข็มที่จะตอกต้องตรงจุด โดยทำการเช็คจากระยะoffsetที่วัดไว้ว่าตรงถูกต้อง(ดูจากในรูปตัวอย่าง)

เสาเข็ม.jpg

3.หน้าตะเกียบหรือรางที่ปล่อยลูกตุ้มปั้นจั่นต้องได้ดิ่ง 2 ด้าน และเสาเข็มก็ต้องได้ดิ่ง 2 ด้าน โดยเช็คได้จากลูกดิ่งที่ทำการห้อยไว้  เพื่อให้เสาเข็มที่ตอกนั้นได้ศูนย์กลาง ไม่หนีออกจากศูนย์กลาง

2625366.jpg

4.เวลาปั้นจั่นยกตุ้มตอก คอยดูด้วยนะครับอย่าให้ยกสูงเกินที่กำหนดมิฉะนั้นจะทำให้เสาเข็มเสียหายได้

5.เวลาเช็ค Last blows หรือ Blows/foot (ตามรายการคำนวณตัวอย่างด้านบนนะครับ) ต้องคอยดูอย่าให้ปั้นจั่นหน่วงสายสลิงช่วยนะครับ ตัวเลขที่เช็คจะบอกเราได้ว่าเสาเข็มรับน้ำหนักได้แค่ไหนครับ

บริษัทเสาเข็มที่ดีจะต้องมีขั้นตอนตามข้างต้น เพื่อไม่ให้เสาเข็มเกิดการหนีศูนย์ระหว่างตอก ทำให้เกิดปัญหาต้องไปแก้ไขในภายหลัง

***เวลาดูเสาเข็มอย่าไปยืนหน้าปั้นจั่นนะครับ ถ้ามันเกิดอุบัติเหตุล้มจะล้มด้านหน้า ด้วยรักและห่วงใยนะครับ***

ควบคุมการตอกเสาเข็มให้ได้ตามข้างต้นก็สบายใจได้ว่าจะได้เสาเข็มตอกที่ดี ไม่ต้องมีปัญหาเสาเข็มเยื้องศูนย์ ให้ต้องแก้ในภายหลัง

อยากได้บ้านดีๆ เสาเข็มแน่นๆ ควบคุมการทำงานตามหลักวิชาชีพวิศวกรรมติดต่อเราได้ตามด้านล่างเลยครับ

****ตอนต่อไปเดี๋ยวจะมาเล่าเรื่องขั้นตอนการทำงานของเสาเข็มเจาะให้ฟังนะครับ อยากรู้ว่าเสาเข็มเจาะที่ดีควรทำยังไงบ้าง??? กดไลค์กดติดตามเพจ Facebook รอล่วงหน้าได้เลยครับ👍👍👷👷****

****อยากได้แบบบ้านที่ออกแบบฐานรากตามหลักวิศกวรรม รับประกันไม่ทรุด ลองคลี๊กเพิ่มเติมด้านล่างได้เลย****

**ใช้บริการออกแบบกับเรา รับคำปรึกษาในทุกขั้นตอนก่อสร้างเพื่อควบคุมคุณภาพ ฟรี**
**ใช้บริการจ้างสร้างฯกับเราค่าออกแบบ ฟรี**
**สนใจเข้าไปดูรายการวัสดุที่เราใช้เป็นมาตรฐานในการออกแบบและก่อสร้างได้เลย**

นายช่าง SSKC1981 Design&Construction
www.sskcbuilder.com

#แบบบ้าน #แบบบ้านสวย #แบบบ้านสำเร็จรูป #ออกแบบ #รับสร้างบ้าน #รับสร้างบ้านพิษณุโลก

bottom of page