
นายช่างชวนรู้!! : ฐานรากตอนที่4(ฐานรากเสาเข็มเจาะ)
ตอนที่แล้วคุยเรื่องเสาเข็มตอก ตอนนี้มาเสาเข็มเจาะกันแล้วนะครับ!!!👷👷
เสาเข็มเจาะกับเสาเข็มตอก แตกต่างกันตรงไหน???
เสาเข็มตอกจะหล่อเสามาจากโรงงาน ควบคุมกระบวนการ เพื่อให้ได้คุณภาพจากโรงงาน แล้วนำมาตอก
แต่เสาเข็มเจาะต้องทำการเจาะรูลึกลงไปในดินแล้วทำการใส่เหล็กเทคอนกรีต ต้องควบคุมให้เสาเข็มมีคุณภาพอยู่ในหลุมเจาะ ขั้นตอนกรรมวิธีจึงยุ่งยากกว่าเพื่อคุมคุณภาพในหลุม ต่างจากเสาเข็มตอกที่คุมคุณภาพจากโรงหล่อครับ
เสาเข็มเจาะมีราคาแพงว่าเสาเข็มตอก แต่สามารถทำงานในพื้นที่จำกัดได้ และลดความเสียหายจากการสั่นสะเทือนให้พื้นที่อาคารข้างเคียงได้
***ดังนั้นโดยทั่วไปจึงมักเลือกเสาเข็มตอกก่อน แต่ถ้าเงื่อนไขไม่สามารถใช้เสาเข็มตอกได้จึงค่อยใช้เสาเข็มเจาะ***

สำหรับการใช้เสาเข็มเจาะในการต่อเติมเสาเข็มเจาะจะมีการทรุดตัวสูงเนื่องจากการหดตัวของคอนกรีตและการทรุดตัวที่ปลายเสาเข็ม
***ดังนั้นในงานต่อเติมโครงสร้างควรจะทำการแยกโครงสร้างใหม่และเก่าออกจากกันอย่างเด็ดขาด โดยสร้างโครงสร้างยื่นเข้าไปใกล้กันแต่ไม่เชื่อมติด***
เสาเข็มเจาะแบ่งอย่างง่ายๆดังนี้
-เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 35 40 50 ถึง 60 ซม. ความลึกไม่เกิน 25 เมตร ใช้กรรมวิธีการเจาะแบบแห้ง(Dry process) เป็นการขุดเจาะโดยใช้เครื่องมือทั่วไปไม่ต้องใช้สารเบนโทไนท์ สามารถรับน้ำหนักได้ดังนี้
ขนาด 35 ซม.รับน้ำหนักได้ 30-35 ตัน
ขนาด 40 ซม.รับน้ำหนักได้ 30-40 ตัน
ขนาด 50 ซม.รับน้ำหนักได้ 40-50 ตัน
ขนาด 60 ซม.รับน้ำหนักได้ 50-60 ตัน
-เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 60 ซม.ขึ้นไป (80,100,120,150)ความลึก25 ม.ขึ้นไป ถ้าเป็นอาคารขนาดใหญ่อาจลึกถึง 60เมตรใช้กรรมวิธีการเจาะแบบเปียก(Wet process) โดยใช้สารเบนโทไนท์ฉีดลงไปในหลุมเจาะเพื่อป้องกันน้ำใต้ดิน รักษาความแข็งแรงของหลุมเจาะไม่ให้พังทลายลงมา
***สำหรับงานบ้านส่วนใหญ่ใช้เสาเข็มขนาดเล็กแน่นอนครับ หน้าตัด 35หรือ40ซม.***
ส่วนความยาวของเข็มที่จะใช้ สามารถพิจารณาจากข้อมูลดินในบริเวณพื้นที่ก่อสร้างว่ามีลักษณะอย่างไร??
โดยสามารถรู้ได้จาก
-บริษัทเสาเข็มภายในพื้นที่ ก็จะรู้คร่าวๆแต่ไม่มีค่าใช้จ่าย
-หรือทำการตรวจสอบโดยการทำ boring test (การเจาะชั้นดินเพื่อเก็บข้อมูลที่ระดับความลึกต่างๆ )ทำให้เราได้ข้อมูลอย่างละเอียดของชั้นดินมาพิจารณา จะรู้ละเอียดกว่าแต่มีค่าใช้จ่าย
ต่อไปคือขั้นตอนการเจาะเสาเข็มครับ
บริษัทรับจ้างเจาะเสาเข็มที่ดีควรจะมีขั้นตอนอย่างไรมาดูกันเลย!!!
1.ทำการมาร์คจุดที่จะเจาะ และจะทำการวัด offset ออกมา แล้วนำปลอกเหล็กปักลงไปในจุดที่จะเจาะ หลุมที่จะเจาะต้องตรงจุด โดยทำการเช็คจากระยะoffsetที่วัดไว้ว่าตรงถูกต้อง(ดูจากในรูปตัวอย่าง)


2.เมื่อทำการเช็คoffsetเรียบร้อยแล้ว จึงทำการเช็คดิ่งของปลอกเหล็กทั้ง 2 แกน x,y (ดูจากตัวอย่างในรูป) แล้วทำการกดปลอกเหล็กเพื่อเจาะเอาดิน

**ปลอกเหล็กจะใช้กันไม่ให้ชั้นดินอ่อนด้านบนพังลงมาทำให้หลุมเจาะเสียหาย ความลึกของปลอกเหล็กจึงขึ้นอยู่กับชั้นดินอ่อนในแต่ละพื้นที่**
3.ทำการเอาดินในหลุมเจาะออกจนถึงระดับความลึกที่ต้องการ โดยสังเกตก้นหลุมที่ทำการเจาะเสร็จแล้วว่าไม่ได้มีการพังทลายของหลุม หรือมีเศษดินตกค้างที่ก้นหลุม

4.ตรวจสอบขนาดเหล็กเสาเข็มเจาะ โดยมาตรฐานเหล็กที่เสริมใช้ดังนี้
-ขนาด 35ซม.ใช้ 6DB12 ปลอก RB 6@20ซม.
-ขนาด 40ซม.ใช้ 8DB12 ปลอก RB 6@20ซม.
-ขนาด 50ซม.ใช้ 6DB16 ปลอก RB 6@20ซม.
-ขนาด 60ซม.ใช้ 8DB16 ปลอก RB 6@20ซม.

***โดยต้องมีการผูกลูกปูนเพื่อบังคับให้มีระยะคอนกรีตหุ้มเหล็กไม่ให้เป็นสนิม และถ้ามีการต่อทาบต้องได้ระยะทาบ ที่ 40เท่าของขนาดเหล็ก เช่นเหล็ก DB12 มีระยะทาบ 48 ซม.***
หลังจากนั้นจึงทำการหย่อนเหล็กเสาเข็มเจาะลงหลุมเจาะโดยหย่อนปลายเสาเข็มให้ห่างก้นหลุมซัก 10 cm เพื่อให้มีระยะหุ้มคอนกรีตไม่เป็นสนิม และจัดเหล็กให้ได้ศูนย์กลางหลุม ไม่ใช่เอียงไปชิดขอบหลุมด้านในด้านหนึ่ง
5.ทำการเทคอนกรีตลงเสาเข็ม และถอนปลอกเหล็กออก
ห้ามทิ้งหลุมเจาะไว้นานเกินโดยไม่เทคอนกรีต เพราะหลุมอาจพังได้และจะทำให้เสาเข็มเจาะเสียบกำลังรับน้ำหนักที่เกิดจากแรงเสียดทานด้านข้าง(Skin Friction) และคอนกรีตที่เทควรมี Slump 10-13ซม. ซึ่งเหลวกว่าคอนกรีตทั่วไป
***การเทคอนกรีตต้องใช้กรวยและต่อท่อเทให้ถึงก้นหลุมเพื่อป้องกันคอนกรีตแยกตัว และไม่ผสมกับน้ำด้านล่าง***
ลองนึกภาพ!!
ถ้าเราสาดเทคอนกรีตจากชั้น 2 ลงชั้น 1 จะเกิดอะไรขึ้นครับ!!
หินไปทางน้ำไปทาง ถ้าทำแบบนั้นในเสาเข็ม หินจะไปกองอยู่ข้างล่างครับ เสียสภาพคอนกรีตเลยครับ!!


***เมื่อเจาะต้นแรกเสร็จ จะเจาะต้นต่อไป!!!
ห้าม!!!เจาะเสาเข็มต้นข้างเคียงถ้าระยะห่างน้อยกว่า 6 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเสาเข็ม ถ้าจะเจาะให้เจาะหลังจากต้นข้างเคียงแล้วเสร็จไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง***
ควบคุมการเจาะเสาเข็มให้ได้ตามข้างต้นก็สบายใจได้ว่าจะได้เสาเข็มเจาะที่ดี ไม่ต้องมีปัญหาเสาเข็มไม่ได้คุณภาพ เสาขาดกลางต้น หรือเยื้องศูนย์ให้แก้ปัญหาในภายหลัง
****ตอนต่อไปเดี๋ยวจะมาบอกเรื่องเสาเข็มที่ทำไปแล้วว่าแบบไหนไม่ดีไม่ผ่าน!!
สังเกตได้จากตรงไหน???
กดไลค์กดติดตามเพจ Facebook รอล่วงหน้าได้เลยครับ👍👍👷👷****
****อยากได้บ้านดีๆ เสาเข็มแน่นๆ ควบคุมการทำงานตามหลักวิชาชีพวิศวกรรมติดต่อเราได้ตามด้านล่างเลยครับ****
**ใช้บริการออกแบบกับเรา รับคำปรึกษาในทุกขั้นตอนก่อสร้างเพื่อควบคุมคุณภาพ ฟรี**
**ใช้บริการจ้างสร้างฯกับเราค่าออกแบบ ฟรี**
**สนใจเข้าไปดูรายการวัสดุที่เราใช้เป็นมาตรฐานในการออกแบบและก่อสร้างได้เลย**
นายช่าง SSKC1981 Design&Construction
www.sskcbuilder.com
#แบบบ้าน #แบบบ้านสวย #แบบบ้านสำเร็จรูป #ออกแบบ #รับสร้างบ้าน #รับสร้างบ้านพิษณุโลก