
นายช่างชวนรู้!! : ฐานรากตอนที่5 ฐานรากเสาเข็มเยื้องศูนย์
ตอนที่แล้วคุยเรื่องเสาเข็มและฐานรากไปแล้ว วันนี้เราจะมาดูกันว่าเสาเข็มเยื้องศูนย์ ตอนทำฐานรากสามารถสังเกตดูได้ยังไง แล้วจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นถ้าเสาเยื้องศูนย์!!!👷👷
ถ้าเสาบนกับล่างไม่ตรงกันจะทำให้เกิดแรงดัด จากการหมุนในส่วนที่ทำการเชื่อมต่อเสาบนกับเสาล่างได้แก่ฐานราก อีกทั้งจะทำให้เสารับแรงดัดเพิ่มขึ้น แล้วมันสำคัญยังไง ไอ้แรงดัดจากการหมุนเนี่ย???
อธิบายง่ายๆให้ลองเอาปากกามาดันกันโดยเอายางลบคั่นกลางไว้
-ถ้าปากกาดันแบบชนกันก็ไม่เกิดอะไรขึ้นใช่ไหมครับ
-แต่ถ้าดันปากกาให้ด้านบนกับด้านล่างเยื้องกัน ยางลบจะหมุนเอียงแล้วทำให้ปากกาหลุดออกมาใช่ไหมครับ
ลองจินตนาการว่าเป็นเสาบ้าน กับเสาเข็ม และมีฐานรากเป็นยางลบดูครับ....นั่นแหละครับอันตรายของเสาเยื้องศูนย์!!!!!

สำหรับการเยื้องศูนย์จะสังเกตได้ยังไงขอให้ดูตามรูป
ต้องขอขอบคุณรูปตัวอย่างจาก การคำนวณแก้ไขฐานรากเสาเข็มเยื้องศูนย์ ของรศ.ดร.อมร พิมานมาศ จากวิศวกรรมสถาน มา ณ ที่นี้ด้วยครับ

รูปนี้คือการเยื้องศูนย์ปานกลางของฐานรากเสาเข็มต้นเดียว จะทำให้เกิดความไม่มีเสถียรภาพขึ้น เกิดแรงหมุนในเสาเข็มและฐานราก รูปนี้มีข้อเสียอื่นอีกด้วยนะครับ!!....ลองสังเกตุดูเห็นไหมครับ??
ลองสังเกตุด้านซ้ายของฐานครับ ปกติระยะหุ้มคอนกรีตฐานรากควรมีระยะ 5-7 ซม. อันนี้ติดแบบเลย ไม่มีระยะหุ้ม ปกติจะต้องมีลูกปูนก้นเล็กๆขนาดตามระยะหุ้มมาหนุนกั้นเหล็กกับแบบเพื่อให้ได้ระยะหุ้มนะครับ ข้อเสียที่ตามมาคือเหล็กจะเป็นสนิมเพราะไม่มีคอนกรีตหุ้มนะครับ

รูปนี้คือการเยื้องศูนย์รุนแรงของฐานรากเสาเข็มต้นเดียว จะทำให้เกิดความไม่มีเสถียรภาพขึ้น เกิดแรงหมุนในเสาเข็มและฐานราก
**การเยื้องศูนย์ในต้นเดียวจะเกิดปัญหามากกว่าฐานรากเสาเข็มหลายต้น เนื่องจากทำให้เกิดแรงหมุนเพิ่มมาที่ฐานรากและเสาเข็มแทนที่เสาเข็มจะเกิดแรงกดเพียงอย่างเดิยว**

รูปนี้คือการเยื้องศูนย์เสาเข็ม 2 ต้นที่เกิดตามแนวแกนฐานราก ซึ่งแบบนี้ไม่ได้สูญเสียเสถียรภาพ เนื่องจากไม่ได้ทำให้เกิดแรงหมุนเพิ่มขึ้น แต่ทำให้เสาเข็มต้นด้านขวารับแรงกดเพิ่มขึ้น

รูปนี้คือการเยื้องศูนย์เสาเข็ม 2 ต้น ที่หลุดจากแนวแกน ทำให้อาจสูญเสียเสถียรภาพ สังเกตุได้จากเสาเข็มหลุดออกมาจากแนวแกนสีแดง ทำให้เสาเข็มและฐานรากจะรับแรงหมุนมากขึ้น รูปนี้มีข้อเสียอื่นอีกด้วยนะครับ!!......สังเกตุดูเห็นไหมครับ??
ลองมองดูที่หัวเสาเข็มครับ เหล็กเสาเข็มที่โผล่มาสั้นมากครับ ควรมีระยะไม่น้อยกว่า 30ซม. นะครับ เพื่อให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวกับเหล็กแกนเสาเข็มที่เพียงพอ ป้องกันเสาเข็มหลุดจากฐานรากครับ
***ข้อสังเกตุแบบนี้เจ้าของบ้านที่จะก่อสร้างเองโดยไม่มีวิศวกรควบคุมควรจะต้องรู้ไว้นะครับ บ้านของท่านจะได้มีคุณภาพ แข็งแรง หรือถ้าไม่อยากสังเกตุเอง เพียงแค่จ้างออกแบบกับเรา เราแถมบริการให้คำปรึกษาโดยวิศวกรที่มีประสบการณ์ในทุกขั้นตอนของการก่อสร้าง เพื่อควบคุมคุณภาพให้ฟรี ***
***สำหรับการแก้ไขนั้นวิศวกรต้องทำการคำนวณ เพื่อให้เกิดความมีเสถียรภาพ ชดเชยกับแรงหมุนที่มากขึ้น อาจจะโดยทำการเสริมเสาเข็มหรือออกแบบฐานรากใหม่ครับ***
ดังนั้นการควบคุมการทำเสาเข็มให้ได้มาตรฐาน ตามบทความก่อนหน้าที่ผมได้เขียนไว้ตามข้างต้นก็จะเพิ่มความมั่นใจได้ว่าจะได้เสาเข็มที่ดี ไม่ต้องมีปัญหาเยื้องศูนย์ให้แก้ปัญหาในภายหลัง
****ตอนต่อไปเดี๋ยวจะมาบอกเรื่องเสา ว่าจะสังเกตุยังไงแบบไหนไม่ดีไม่ผ่าน!!
สังเกตได้จากตรงไหน???
กดไลค์กดติดตามเพจ Facebook รอล่วงหน้าได้เลยครับ👍👍👷👷****
****อยากได้บ้านดีๆ ควบคุมการทำงานตามหลักวิชาชีพวิศวกรรมติดต่อเราได้ตามด้านล่างเลยครับ****
**ใช้บริการออกแบบกับเรา รับคำปรึกษาในทุกขั้นตอนก่อสร้างเพื่อควบคุมคุณภาพ ฟรี**
**ใช้บริการจ้างสร้างฯกับเราค่าออกแบบ ฟรี**
**สนใจเข้าไปดูรายการวัสดุที่เราใช้เป็นมาตรฐานในการออกแบบและก่อสร้างได้เลย**
นายช่าง SSKC1981 Design&Construction
www.sskcbuilder.com
#แบบบ้าน #แบบบ้านสวย #แบบบ้านสำเร็จรูป #ออกแบบ #รับสร้างบ้าน #รับสร้างบ้านพิษณุโลก